ครั้งที่ 1 วันจันทร์ 22 พฤศจิกายน 2553
ก็ยินดีนะครับที่ได้มาบรรยายให้พวกเราฟัง ก็อวยพรล่วงหน้าให้ผ่านทุกคน อัยการอีกไม่นานจะเปิดสนามใหญ่แล้ว สนามเล็กสอบไปแล้วห้าสิบคนอั้นมานานแล้ว ส่วนของพวกเราถ้ามีโอกาสก็ไปเรียนปริญญาโทด้วย เอกชนก็มีหลายที่ศรีปทุมก็มี เป็นความรู้ติดตัว สิ่งที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าก็อย่าปล่อยไป บางคนสอบเนฯผ่านแล้วก็มานั่งฟังให้ความรู้แน่น
หัวข้อที่บรรยายคือสัมนาวิอาญา คือพูดได้ทุกจุดก็ถือว่าทุกคนเก่งมากอยู่แล้ว คงไม่เอาเรื่องเก่ามาพูดใหม่ทั้งหมด บางคนตอบได้ถูกธงแต่เขียนสำนวนไม่เป็นข้อกฎหมายไม่ถูกเรียงหัวข้อไม่ดี ก็ควรอ่านไปแต่แรกโดยเฉพาะคำนิยามอย่าทิ้ง เป็นผู้เสียหายหรือไม่ ก็ต้องตอบมาตรา 1 อนุเท่าไหร่ก็ว่าไป การสอบสวนก็เหมือนกัน ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษหรือไม่ ส่วนมากก็วนเวียนอยู่แค่สามประเด็น คือ ผู้เสียหาย การร้องทุกข์ การสอบสวน ข้อสอบก็วนอยู่แค่นี้เพราะฉะนั้นเวลาจะอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ก็ควรที่จะเน้นหนักในสามประเด็นนี้ การอ้างตัวบทก็เป็นเรื่องที่สามารถสื่อให้ผู้ตรวจเห็นว่าเราเข้าใจได้อย่างง่ายที่สุด เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ตาม ป.วิ.อ. มาตราอะไร การร้องทุกข์เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบ ตาม 121 ก็กลายเป็นการสอบสวนที่ชอบตาม 120 ก็ไล่ไปอย่างนี้
มาตรา 120 ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน
มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ อาจารย์เคยสอบปากเปล่า ที่ 1 เนฯ แล้วไปสอบเป็นพนักงานอัยการเพราะฉะนั้นการแม่นข้อกฎหมายสำคัญ เข้าใจแค่ไหน แต่ข้อกฎหมายไม่แม่น ก็ได้คะแนนไม่เยอะ บางครั้งตั้งใจจะให้คะแนนไว้แล้วไปตอบออกนอกเรื่อง ไปเพิ่มข้อเท็จจริงให้กับข้อสอบ ก็ให้คะแนนไม่ได้
วิธีที่อาจารย์เรียนสมัยก่อน การสอบเนฯให้ได้ ก็คือเอาข้อสอบเนฯนั่นแหละมาดู ให้นึกเฉลยข้อสอบในใจก่อนค่อยมาเปิดดูธงคำตอบ เหมือนมวย ซ้อมแต่กระสอบทรายไมได้ลองนวมก็ไม่ทำให้เก่ง เรื่องที่มักออกสอบ และเป็นคดีบ่อยคือ คำว่าผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. 2 อนุ 4 2 อนุ 7 2อนุ 11 ก็
มาตรา 2(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6
มาตรา 2(7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
มาตรา 2(11) “การสอบสวน” หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
วนเวียนอยู่แถวนี้ทั้งนั้น ตามมาตรา 28 หลายประเทศก็ไม่นิยมให้ผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง แต่ประเทศไทยอนุญาต
มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย
มันก็เลยเกิดปัญหาเพราะผู้เสียหายนอกจากเริ่มด้วยการร้องทุกข์แล้ว มีอำนาจฟ้องคดี และ เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ยอมความ ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ บางทีเผลอลืมวินิจฉัยว่าเขาเป็นผู้เสียหายหรือเปล่า บางทีไปตรวจเจอในชั้นฏีกา จึงต้องกลับเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบ ศาลฏีกายกวินิจฉัยได้เอง ผู้เสียหายตามมาตรา 2 อนุ 4 ก็มีผู้เสียหายโดยตรง กับ ผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ผู้เสียหายโดยตรงคือต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่ง เพราะฉะนั้นต้องเกิดการกระทำความผิดเสียก่อน การเตรียมการโดยปรกติไม่เป็น ยกเว้นความผิดบางประเภท ความผิดหนึ่งที่ชัดแจ้ง คือ ตระเตรียมการไปเผาบ้าน วางเพลิงที่ตระเตรียมการ อีกอันที่อาจารย์ค้านสมาคมสตรี คือ ตระเตรียมการข่มขืนก็น่าจะเอาด้วย อาจารย์ก็นึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ขนาด ฟ้องข่มขืนยังยกฟ้องมาเยอะเลย มันไกลเกินไปหรือไม่
มาดูว่าการตระเตรียมการแม้ว่าตัวผู้กระทำความผิดยังไม่ได้กระทำความผิดเช่นตระเตรียมการไปยิงคน ผู้ใช้ผิดหรือไม่ ไปดูให้ดีนะครับ เมื่อตกลงรับว่าจะทำ แม้ตัวผู้ถูกใช้ยังไม่กระทำ ความผิดของผู้ใช้ก็เกิดขึ้นแล้วนะ ขณะที่นาย ข ซุ้มไปยิง ความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายในคดีนี้คือ คนธรรมดาก็นำมาตรา 15 ปพพ มาพิจารณา เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก คลอดเมื่อไหร่ เป็นคนหรือยัง ทีเด็กทำแท้งเยอะแยะนี่ ได้พ้นจากช่องคลอดทั้งหมดหรือยัง หรือ ครึ่งตัวแล้วโดนหักคอตรงช่องคลอดเป็นการฆ่า หรือ ทำแท้ง ของไทยต้องคลอดมาทั้งตัว เริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก ไม่ว่าจะกี่วินาที การคลอดมากับตอนร้องไม่เหมือนกัน คลอดมาตอนนี้ เกิดมาแล้วสิบนาทีค่อยร้อง ก็คือเริ่มเมื่อคลอด คือ ตอนที่หลุดจากครรภ์มารดา
สมองตาย ถือว่าตายหรือยัง ครูจูลิง ตายหรือยัง ทางแพทย์ถือว่าสมองตายคือตายแล้ว แต่ตามกฎหมายนั้น ถ้าหาก มีใครไปยิงครูจูลิงขณะนั้น จะถือว่าเป็นการฆ่าคนตายแล้ว ครูจูลิงสมองตายยังถือว่ามีสภาพบุคคลอยู่นะ เรื่องนี้จะต้องเจาะ เรื่องตาย เรื่องคลอด เรื่องยาวนะครับ นิติบุคคล ปรกติก็มีอยู่ตามกฎหมายแพ่ง เช่นพวก สมาคม มูลนิธิ ห้างฯ บริษัท ส่วนนิติบุคคลตามกฎหมาย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต พวกนี้ ส่วนกระทรวงทบวงกรม แต่เดิมอยู่ในกฎหมายแพ่ง ปัจจุบันอยู่ในพรบ.ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7
มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้ (1) สำนักนายกรัฐมนตรี (2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง (4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง ส่วนราชการตาม (1) (2) (3) และ (4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ส่วนของทางทหาร ก็เป็นตาม พรบ.บริหารระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2543 แก้ไข 2536 ในขณะนี้มีห้าหน่วยงานเท่านั้น
คือสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม , กรมราชองค์รักษ์ กรมบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นอกจากนี้ กรมนั่นกรมนี่นั่นไม่ใช่ เวลาส่งเรื่องมาฟ้อง ส่งมาในนามกรมกิจการพลเรือน นี้ ส่งมาโดยตรงไมได้ เพราะเขาไม่ใช่นิติบุคคล คนที่ลงนามในใบมอบอำนาจ ก็ต้องเป็นผู้แทนนิติบุคคล ก็คือ ผู้บัญชาการนั้นๆ เวลาเป็นทนายความก็ต้องดูให้ดี ถ้าทำพลาดก็จะยกฟ้อง
ส่วนสงฆ์ กิจการของสงฆ์ก็ต้องดูให้ดี เพราะถ้าเป็นวัดต้องได้พระราชทาน ตามพรบ.คณะสงฆ์ เป็นนิติบุคคล ส่วนสำนักสงฆ์ไม่ใช่นิติบุคคล
ฎ.2386/2541 ฏีกายักยอกเงิน
สำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตามแต่เงินผ้าป่า 150,000 บาท เป็นเงินที่ชาวบ้านนำไปทอดให้สำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดซึ่งพระภิกษุ ป. เป็นเจ้าคณะสงฆ์อยู่ในขณะนั้น พระภิกษุ ป. จึงมีหน้าที่ดูแลเงินผ้าป่าดังกล่าว เมื่อพระภิกษุ ป. มอบให้พระภิกษุ ข.เป็นผู้เลือกชาวบ้านเป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบจำนวนเงินนั้นส.ง.ร. และจำเลยได้รับเลือกเป็นกรรมการและร่วมกันรับมอบเงินจำนวนดังกล่าวไปเก็บรักษา หากจำนวนเงินดังกล่าวสูญหาย กรรมการทั้งสี่ต้องร่วมกันรับผิดต่อสำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุด แม้กรรมการแต่ละคนจะได้รับเงินเพียงบางส่วนไปเก็บรักษาก็เป็นการแบ่งความรับผิดชอบกันเองภายหลังจากรับเงินทั้งจำนวนมาแล้ว การที่จำเลยรับมอบเงินจำนวน40,000 บาท ไปเก็บรักษาแล้วยักยอกเงินจำนวนนั้นไปส.ง.ร. จึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของสำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดซึ่งอยู่ในความครอบครองของส.ง.ร. และจำเลย แม้หนังสือมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์จะไม่ได้ปิดแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เนื่องจาก ประมวลรัษฎากรฯมาตรา 118 ห้ามมิให้รับฟังหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ปิดแสตมป์เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น มิได้ห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญาด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด
วัดนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์มิใช่นิติบุคคล แต่เงินนั้นเป็นของสำนักสงฆ์ ผู้ครอบครองแทนก็ย่อยเป็นผู้เสียหาย คดีนี้เงินทอดผ้าป่า กรรมการคนหนึ่งยักยอกเงิน เพราะว่าทุกคนต้องรับผิดชอบนำเงินมาคืนวัด รับผิดชอบร่วมกัน เมื่อกรรมกรคนหนึ่งยักยอกเงิน ไป กรรมการจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหาย เวลาตอบก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นผู้ครอบครองทรัพย์ของบุคคลอื่น มีบุคคลที่สามมายักยอกก็เป็นผู้เสียหายได้ วัดนั้นก็มีสองประเภทคือวัดที่มี พระอยู่ เป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสก็เป็นผู้แทน และเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ครอบครองด้วย อีกวัดประเภทหนึ่งคือวัดร้าง ซึ่งยังไม่ยุบเลิกวัด อยู่ตามความดูแลของกรมการศาสนา เพราะฉะนั้นกรมการศาสนาจึงเป็นผู้เสียหาย ดูตัวอย่างคำพิพากษาฏีกา
ฎ. 6965-6966/2546-ค้นหาไม่พบ
ฏีกานี้มีประเด็นทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอะ จำเลยเป็นลูกจ้างของกรมการศาสนา เป็นผู้ติดต่อกับผู้เช่าที่ดิน การที่จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปเก็บเงินจากผู้เช่าต้องถือว่าจำเลยรับเงินแทนกรมการศาสนามิให้รับไว้จากผู้เช่า แต่เป็นการรับเงินแทนกรมการศาสนา เมื่อจำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวย่อมเป็นการยักยอกเงินจากกรมการศาสนา เรื่องนี้เป็นประเด็นว่า ยักยอกเงินใครกันแน่ คือ เป็นลูกจ้างปลอมใบเสร็จไปรับเงินจากผู้เช่า กรมการศาสนาเป็นผู้เสียหาย เรื่องนี้ถ้าตีความผิดไปว่าจำเลยเป็นผู้แทนของผู้เช่านี่ผิดธงเลย จะกลายว่ากรมการศาสนาไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ มีผล 120 ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเลยนะครับ ถ้าเป็นคดียอมความได้ แต่ไม่มีการร้องทุกข์ ก็สอบสวนไม่ได้ เวลาตอบให้ตอบเป็นระบบจะได้คะแนนดี
คดีนี้มีข้อพิจารณาว่าจะมีความผิดฐานฉ้อโกงผู้เช่าหรือไม่ ออกใบเสร็จปลอมไปหลอก ความจริงก็น่าคิด ถ้าเกิดผู้เช่าเกิดมาร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกงก็น่าจะเป็นประเด็น ว่ามันก็น่าจะเป็นประเด็น แต่เรื่องนี้มีประเด็นขึ้นสู่ศาลแค่ประเด็นยักยอกหรือไม่เท่านั้น แล้วผู้เช่ายังต้องจ่ายเงินให้กรมการศาสนาอีกหรือไม่ เงินชำระหรือยัง เป็นคดีในคดีแพ่งอยู่นะ อีกคดีคือมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมหรือไม่ ต้องดูด้วยว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสิทธิใบเสร็จรับเงินหรือไม่ ก็ต้องดูว่าใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสิทธิ
ส่วนวัดโรมันแคทอริคก็เป็นนิติบุคคลได้ เป็นไปตามพรบ.ฐานะวัดบาทหลวงแคทอริค มีศักดิ์เป็นบริษัท ถ้าเป็นวัดของคริสต์เตรียล โบทส์ ก็ไม่เยอะ แล้วมาดูว่าบุคคลหรือนิติบุคคลต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหาย นี่เป็นไปตามคำนิยาม จะดูว่าเขาเป็นผู้เสียหายหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญ เพราะจะร้องทุกข์ได้หรือไม่ เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้หรือไม่ เพราะการเข้าร่วมเป็นโจทก์ก็มีประเด็นแล้ว ว่าเป็นผู้เสียหายด้วยหรือไม่ เฉพาะบางความผิดเท่านั้นอาจเป็นผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นเวลาสั่งก็ลืมสั่งว่าเฉพาะบางความผิดที่เป็นโจทก์ร่วมได้ แต่ก็น่าเห็นใจศาลชั้นต้นเพราะคดีเยอะเหลือเกิน ศาลชั้นต้น อัยการก็ลืมได้ เพราะมีบางคดี โจทก์คือพนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมที่เป็นผู้เสียหายนี่อุทธรณ์ เรื่องบางทีไปตรวจเจอชั้นศาลฏีกาว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่หนึ่งเพราะความผิดฐานความผิดบุกรุกไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในฐานความผิดหน่วงเหนี่ยวกักขัง ก็ปรากฎว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เป็นโจทก์ร่วมทั้งสองข้อหา ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสองข้อหา ความผิดยุติไปแล้ว โจทก์ร่วมมีอำนาจอุทธรณ์ ก็เฉพาะที่ตนเองเป็นผู้เสียหาย ปรากฎว่าศาลชั้นต้นก็รับไว้วินิจฉัย เป็นการพิพากษาที่ขัดต่อกฎหมาย ไม่มีคำร้องคำขอจากโจทก์เลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบ
คือฏีกาที่ 680/2545
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่ 1 เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้เข้าร่วมในความผิดใดก็ต้องถือว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองข้อหาและโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มิได้เป็นผู้เสียหาย คือผู้เสียหายที่หนึ่งที่สอง แล้วไปฉุดผู้เสียหาย ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายที่หนึ่งเป็นผู้เสียหาย เพราะฉะน้นความผิดยุติไปแล้วโจทก์ร่วมที่หนึ่งเจ้าของบ้านมีอำนาจแค่หน่วงเหนี่ยวกักขังเท่านั้น แล้วก็ลงโทษจำเลยซะด้วย ศาลฏีกาบอกว่าการที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลย ไม่มีอำนาจลงโทษได้ เป็นการพิพากษาที่ขัดต่อกฎหมายเหมือนไม่มีคำร้องคำขอจากโจทก์เลย
มาตรา 2 จำให้ดีเลย ศาลฏีกามีอำนาจพิพากษาได้ จำตัวบทไว้ด้วยนะครับ จะได้คะแนนเยอะ หนึ่งคะแนนก็มีความสำคัญนะครับ มาดูความผิดอะไรบ้างที่เอกชน ก็ดี รัฐก็ดีเป็นผู้เสียหายได้หมด เพราะมีความผิดบางประเภท ที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย มาตรา 28 ก็ไม่มีเขียนบอกไว้ แต่เป็นการตีความตามแนวกฎหมายอังกฤษ ศาลฏีกาก็จำกัด ในส่วนของคำว่าผู้เสียหายน้อยลง ความผิดที่รัฐกำหนดให้เป็นความผิด เช่นความผิดต่อป่าไม้ พรบแร่ อย่างนี้ปรกติขุดแร่ก็ขุดกัน ต่อมารัฐบอกว่าไม่ได้ ต้องจ่ายค่าสัมปทาน พรบ.รถยนต์ ยาเสพติด รัฐตรากฏหมายมามาก แล้วประชาชนพวกเราเองจะตามได้เหรอความผิดอีกอันคือความผิดที่ราษฏร์กระทำต่อเจ้าพนักงาน หรือ เจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ซึ่งความจริง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย แต่ก็ไปเขียนว่าซึ่งอาจทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนเสียหาย อันนี้ประชาชนเป็นผู้เสียหายด้วย ถ้ามีถ้อยคำพวกนี้ ศาลฏีกาไทยตีความว่าราษฏร์เป็นผู้เสียหาย แต่ต้องพิสูจน์ได้ด้วยนะว่าตัวเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง