เสริมจากเพื่อนๆนะครับ

ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองไม่ได้จบจากฝรั่งเศส แต่มีเพื่อนๆพี่ๆที่ไปศึกษาต่อที่นั่น
ตลอดจนท่านอาจารย์ ท่านได้ให้ข้อมูลไว้ ก็พอจะเอามาแบ่งปัน (อย่าเรียกว่าแนะนำเลยนะครับ)
ได้เท่าที่มีนะครับ
ตามที่คุณบอกมา หากคุณคิดจะเรียนต่อทางด้านกฎหมายมหาชนที่ฝรั่งเศส ก็จะดีมากครับ
เพราะที่ฝรั่งเศสจะแยกการศึกษาสาขากฎหมายเอกชน และมหาชนออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
แต่ปัญหาของเด็กไทยที่ไม่ค่อยมีใครไปศึกษาต่อที่นั่นก็เรื่องของภาษา
และระบบการศึกษาที่ต้องพึ่งตนเอง เพราะไม่ใช้ระบบพี่เลี้ยง(Tutor) เหมือนอย่าง
ทางฝั่งของอังกฤษ ครับ แต่หากเราตั้งใจแล้วก็ไม่ยากเกินความตั้งใจอย่างแน่นอนครับ
ข้อดีก็มีนะครับ จะคล้ายๆกับเยอรมัน คือเป็นรัฐสวัสดิการ ค่าใช้จ่ายสวนใหญ่ รัฐจะออกให้
แม้ว่าจะเป็นนักศึกษาต่างชาติก็ตามทีครับ
มหาวิทยาลัยที่แนะนำก็คงเป็น University of Paris เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสครับ
อีกทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับต้นๆของโลกอีกด้วยครับ(เก่าแก่กว่า ออกซ์ฟอร์ด และแคมบริดจ์) มี อาจารย์ทางกฎหมายหลายท่านจบจากที่นี่ เช่น ศ. ดร. ปรีดี พนมยงค์, ศ. ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ดร. โภคิน พลกุล , ศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์
และก็มีอีกหลายๆที่ครับที่น่าเรียน เช่น University of Toulouse ซึ่งท่าน รศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์
มธ.คนปัจจุบัน ท่านก็จบจากที่นี่ครับ
และก็มีอีกหลายๆที่ที่น่าเรียนครับ เนื่องจากช่วงนี้ผมยุ่งๆอยู่

ยังไงแล้วหากว่างจะนำข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ครับ

เอาข้อมูลคร่าวๆก่อนนะครับ
หากต้องการข้อมูล และคำแนะนำในการศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส สามารถเข้าไปขอคำแนะนำจากท่าน ศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ ท่านสอนกฎหมายมหาชนอยู่ที่ จุฬาฯ จะเมล์ไปถาม หรือวอล์คอิน เข้าไปถามเลยท่านก็ยินดีครับ (ดูเอาตอนที่ท่านว่างนะครับ)
สามารถเข้าไปชมเว็บไซต์ของท่านได้ที่
http://www.pub-law.net/ 
อันนี้เป็นลิ้งก์ที่ท่านอาจารย์แนะนำไว้
http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=648 
ลิงก์รูปแบบการศึกษาทางกฎหมายที่ฝรั่งเศส
http://www.aetf-online.com/site/index.php?Itemid=2&id=60&option=com_content&task=view 
ลิงก์ระบบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส
http://www.vcharkarn.com/varticle/39 
ข้อมูล และรูปแบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยปารีส (คร่าวๆจากวิกิพีเดียนะครับ)
มหาวิทยาลัยปารีส (ฝรั่งเศส: Université de Paris ; อังกฤษ: University of Paris) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในโลก รองจากมหาวิทยาลัยโบโลญย่าในประเทศอิตาลี หลังจากก่อตั้งขึ้นมาเมื่อคราวสมัยกลางของยุโรป กล่าวคือคริสต์ศตวรรษที่ 12 มหาวิทยาลัยปารีสก็มีชื่อเสียงและนักศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยโบโลญย่าเสียอีก แม้แต่ชาวอังกฤษก็ต้องไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมากษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศสทรงทะเลาะกัน กษัตริย์อังกฤษจึงห้ามมิให้ชาวอังกฤษไปเรียนที่ฝรั่งเศสอีก และได้พากันมารวมตัวก่อตั้ง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ขึ้นเป็นแห่งแรกในอังกฤษ
ข้อแตกต่างอย่างสำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือเรียกรวมๆ ว่า 'ระบบ อ๊อกซบริดจ์' กับมหาวิทยาลัยปารีสในอดีต ก็คือระบบอ๊อกซบริดจ์จะเน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการสอนโดยใช้ระบบติวเตอร์พร้อมๆ กับการวิจัย ทั้งสองอย่างนี้กระทำในเวลาเดียวกัน ระบบนี้ทำให้ครูอาจารย์ใกล้ชิดนักศึกษามากเป็นพิเศษ แต่มหาวิทยาลัยปารีส เน้นหนักด้านการทำวิจัยมากกว่า มีลักษณะการจัดระบบการเรียนการสอนคล้ายๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในประเทศไทย กล่าวคือใครมีวุฒิการศึกษาระดับม.ปลายที่ได้รับการยอมรับก็สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยปารีสได้ทั้งนั้น ครูอาจารย์จะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปทำการค้นคว้าวิจัย ดังนั้น จึงมีเวลาคุยกับนักศึกษาน้อยมาก
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยปารีสนั้น ได้รับความสนใจจากบรรดานักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลก อาจเนื่องมาจากมีค่าเล่าเรียนที่ไม่แพงนัก เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ภาวะการแข่งขันเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปารีสจึงมีอัตราค่อนข้างสูง และโดยปกติแล้ว นักศึกษาที่จะเข้าเรียนต้องยื่นผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาฝรั่งเศสในขั้นสูง
ดังนั้น เมื่อกอร์แมน (Gourman's Report) ได้พยายามสำรวจผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยปารีสมีผลงานวิจัยผลิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท ของ ประเทศรัสเซีย
