ชั่วโมงที่ 8 วันที่ 6 กรกฏาคม 2553 วันนี้เป็นคาบสุดท้ายของวิชาภาษี วันนี้เราจะพูดเรื่องภาษีเงินได้ของบริษัทต่างประเทศ ซึ่ง เราก็จะพูดถึง บริษัทที่ต้องเสียภาษีนั้นต้องเสียจากเงินได้ที่ประกอบธุรกิจในไทย เข้ามาได้หลายรูปแบบ คือเข้ามาในรูปแบบสาขา หรือสำนักงานผู้แทน แล้วก็สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ความยุ่งยากของบริษัทต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในไทย โดยหลักก็เสียเหมือนบริษัทไทยในการคำนวนกำไรสุทธิ รูปแบบอีกอย่างหนึ่งคือเข้ามาในรูปแบบสาขา บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในบริษัทไทยเวลาเสียภาษีเสียจากเงินได้ทั่วโลก ข้อแตกต่างประการที่สองคือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยก็ต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ การหักรายจ่ายก็เป็นไปตาม 65 ทวิ หรือ 65 ตรี แต่ว่าในกรณีบริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในไทย ในทางกฎหมายกรณีที่ไม่อาจคำนวนได้ ก็อนุญาตให้เสียภาษีจากยอดรายรับ ห้าเปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่ากฎหมายให้หักรายจ่าย
การให้หักจากยอดรายรับ กำหนดให้หัก ภาษีเป็นการเหมาได้ซึ่งความเป็นจริงสรรพากรไม่ยอม คราวนี้ที่เล่าให้ฟังคือคนที่สำคัญในกรณีที่หลักเกณฑ์ ก็คือว่าบริษัทต่างประเทศสำคัญคือต้องเป็นห้างฯที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศมีลูกจ้างที่ทำการติดต่อในไทย ลงนามแทน เจรจาติดต่อและทำการซื้อขาย เป็นตัวเชื่อมและซื้อขายให้ติดต่อกัน
ถึงไม่ลงนามแต่พฤติกรรมแสดงออกว่าเพราะเหตุการกระทำของคุณทำให้สัญญาเกิด โดยทั่วไปการเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ พูดง่ายๆคือกินค่าคอมมิชชั่น ถึงแม้ไม่ได้ลงนามแทนแต่ได้ประโยชน์จากการชี้นำ โดยปกติก็ถือว่าคุณทำให้เขาได้รายได้ คุณนั่นแหละมีหน้าที่เสียภาษีต่างประเทศ ถ้าหากว่าคุณเป็นตัวแทน นายหน้าที่มีลักษณะอิสระ อย่างนี้ถึงแม้ได้รับค่าคอมมิสชั่นจากธุรกรรมก็ได้รับยกเว้น การที่ว่าเป็นอิสระหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับข้อสัญญาที่เขียน อาชีพปกติในทางการค้าก็คือเป็นตัวแทนนายหน้า อย่างนี้ก็ไม่มีการเป็นอิสระ
ฎ.2/2526 อีกอันหนึ่งที่สำคัญอย่างที่พูดในคราวที่แล้วซึ่งไม่เคยเห็นออกสอบก็คืออนุสัญญาภาษีซ้อน โดยทั่วไปมีเพื่อลดอัตราภาษี อาจมีแล้วหักน้อยลงแล้วแต่กรณี สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถ้าประกอบผ่านสาขา ก็ว่าไปตามสาขา เงินได้ห้าประเภทเท่านั้นที่หัก ณ ที่จ่าย 2 – 6 มาตราเจ็ดสิบกรณีห้าดังกล่าว ผู้จ่ายก็มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเงินได้ประเภทใด หลักในการหัก ณ ที่จ่ายก็คือหัก สิบห้า เว้นเงินปันผล หัก สิบเปอร์เซ็นต์ ว่าเวลาจ่ายเงินได้ออกบริษัท ต้องหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร บ้าง แผนภูมิที่ให้ดู ก็คือมีอัตราหัก ณ ที่จ่าย ต่างกัน
เงินได้บางประเภทก็ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อสักครู่เราพูดว่า ถ้ามีลูกจ้างแล้วก่อให้เกิดรายได้ ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในนามบริษัทต่างประเทศในไทย ตัวแทนอิสระคือไม่ได้ผูกพันกับใครคนใด ก็มีอาชีพปกติ อย่างนี้ก็เป็นตัวแทนอิสระถ้าเราดู ถ้าเราแบ่งประเภทเงินได้ ถ้าดูตามแผนภูมิที่ในพาวเวอร์พ้อยได้แบ่งประเภท
ถ้าเป็นค่าสิทธิ ก็อาจเป็นเงินได้ ค่าสิทธิ ตาม 40 อนุสาม อนุมาตราสี่ ดอกเบี้ยเงินปันผล ก็เป็นอนุมาตราสี่ ซึ่งเราดูคราวที่แล้ว ถ้าเราดูเงินได้ก็พบว่า มันขึ้นอยู่กับตัวบริษัทต่างประเทศมีตัวแทนอิสระหรือไม่ ก็คือดูสินทรัพย์เป็นเกณฑ์ เพราะการกระทำเช่นว่านั้นเองทำให้ถือว่าบริษัทนั้นมีเงินได้พึงประเมิน ก็ต้องเสียภาษี หรือว่าเป็นสถานประกอบการที่เป็นตัวแทนที่ไม่อิสระ บริษัทก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีแทนบริษัทต่างประเทศ ทำนองเดียวกันก็มีข้อยกเว้นเรื่องตัวแทนอิสระหรือว่าเป็นตัวแทนที่ไม่อิสระก็มีหน้าที่เสียภาษีแทนหลักการทั่วไปก็คือมีรายได้เกินร้อยเจ็ดสิบห้าหรือไม่ เช่นบริษัท เอ จ้างในต่างประเทศ บริษัทเอ ก็เป็นตัวแทน มีหน้าที่เสียภาษี ก็มาเสียภาษีเหมือนบริษัทไทยปกติ โดยทั่วไปจะหลีกเลี่ยงที่ว่ามีสภานประกอบการในไทย สัญญาที่ยุ่งมากคือมาตรา 70 เพราะเป็นการทดสอบว่าถ้าบริษัทไทยต้องจ่ายเงินให้กับต่างประเทศต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร มีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เวลาพูดถึงบุคคลธรรมดาก็เกี่ยวกับการขายที่ดิน อากรแสตมป์ ภาษีเฉพาะ แล้วมีเงินได้ตามหัก ณที่จ่าย ตามหลักภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ คราวก่อนเราบอกเรื่องราคาตลาดเวลาเราอ่านสอบหรือเตรียมการต้องดูว่าประเด็นคำถาม ถ้าเราตอบแค่เรื่องเดียวต้องสังหรณ์ใจว่าไม่ครบ
เงินได้บางอย่างเราแยกไม่หมด ความยากอยู่ในอนุแปด ค่าจ้างบางอย่างแยกไม่ได้ เพราะสองต้องหัก เจ็ดไม่ต้องหัก หกต้อวหัก ถ้าเป็นภาษีซ้อนยากใหญ่เพราะไม่ต้องหักเลย ถ้าเป็นกำไรจากธุรกิจ
ห้าอาจจะเป็นค่าสิทธิ ค่าเช่าบางอย่าง เช่นค่าเช่าวิทยาศาสตร์ เป็นค่าสิทธิได้ ความยากระหว่างภาษีระหว่างประเทศคือจะแยกค่าสิทธิกับกำไรพวกนี้อย่างไร เช่นค่าสิทธิคอมพิวเตอร์ก็ยุ่งพอสมควรหนึ่งแยกเงินได้ให้ได้ หลักภาษีซ้อนนี่สำคัญ ลองดูนิดหนึ่ง เมื่อเราเรียนแล้วว่าเป็นเงินได้สุทธิ อนุสี่ เงินปันลที่ส่งออกไปให้เก็บสิบเปอร์เซ็น
สาขาต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย เสียสามสิบ เจ็ดสิบออกไปเป็นปันผลหรือไม่ ก็ไม่ใข่ จึงมีเจ็ดสิบทวิ เพื่อเก็บภาษีต่างประเทศที่ไม่ได้ทำธุรกิจแต่เป็นสาขา ไม่เช่นนั้นจะได้เปรียบบริษัทในไทย
สามสิบเปอร์เซ็นต์ก็เก้าบาท ถ้าส่งยี่สิบเอ็ดบาทไป ไม่ใช่เงินปันผลแต่เป็นเงินได้ที่กันไว้จากกำไร ก็ต้องหักไว้สิบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับเงินปันผล ทีนี้พอใช้การตีความเช่นว่านี้ก็เกิดมี บริษัทข้ามชาติก็รู้สึกว่า อย่างนี้ก็อย่าให้บริษัทส่งกำไรไปเลย เพราะว่ามาตรานี้บอกว่า คนที่จะเสียก็คือคนที่ส่งเงินกำไรออก ก็มีคดีเมื่อปี 39 บริษัทโจทก์ เป็นนายหน้าให้กับบริษัทที่ยี่ปุ่น ว่ากำไรเท่าไหร่ แต่โจทก์บอกว่ายื่นเสียแล้ว ไม่ได้ส่งกำไร คนที่ส่งคือลูกค้าที่ซื้อของ แต่สิบเปอร์เซ็นต์โจทก์ไม่ใคนส่งออก การที่บริษัท ขายสินค้าให้โจทก์เป็นตัวเชื่อม ทีนี้คำถามต่อว่า ยื่นเสียภาษีแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีสิบเปอร์เซ็นต์หรือไม่ ต้องเป็นผู้ส่งเงินออกไป ถ้าโจทก์ไม่ได้ส่งเงินยื่นเสียภาษีให้เท่านั้นข้อเท็จจริงได้ความว่าได้ทำสัญญาซื้อขายโดยตรงกันโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษี หลักคือว่าต้องเป็นกำไร ถ้าม่ได้ส่งออกไม่ต้องเสีย เป็นคำพิพากษาปี สามเก้า แต่ปีสี่แปดประชุมใหญ่ ก็ต้องตอบแนวฏีกา ทำไมถึงประชุมใหญ่ก็เพราะศาลกลับหลักเรื่องการส่งเงินออก เป็นบริษัทเดียวกันแต่คนละปี
โจทก์ยอมเสียเจ็ดสิบหกทวิ สรรพากรไม่ยอมแพ้ก็มาประเมินกับตัวโจทก์ว่าแม้ไม่ได้ส่งเงินออกแต่ต้องรู้ว่ากำไรมีเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นก็มีหน้าที่เสียภาษีร้อยละสิบของเงินที่กันไว้ เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นตัวแทนยื่นภาษีให้ คุฯก็ต้องรนับรู้ว่ามีเงินเหลือจากกำไรที่ส่งออก คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพราะฉะนั้นเพื่อึวามเสมอภาคในการเสียภาษี เพราะฉะนั้นคุณนั่นแหละ ต้องรู้อยู่แก่ใจว่ารายได้มีเท่าใด แสดงว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างมาก โจทก์ไม่ใข่ตัวแทนธรรมดา ดังนั้นไม่ว่าจะทำการในฐานะผู้ทำการแทนหรือให้ ส่งไปโดยตรงก็ถือว่า บริษัทต่างประเทศนั้นได้รับเงินได้ในไทย นี่คือเหตุผลสำคัญมาก เมื่อเงินที่ส่งออกีส่วนกำไรอยู่ ต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อ ให้ถือว่า โจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรตาม เจ็ดทวิ ต้องหัก ณ ที่จ่าย สิบเปอร์เซ็นต์ฏีกานี้ก็มีความสำคัญพอสมควร ถ้าออกสอบเนฯก็ยากเกินทีนี้เราดู มาตราเจ็ดสิบ ดแหล่งเงินได้เลยนะครับ จ่ายให้ต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบการ กรณีมาตราเจ็ดสิบเป็นกรณีหัก ณ ที่จ่าย บริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบการในไทย แยกให้ได้
จำไว้ และใช้เกณฑ์เงินสด จำฑีกาที่ยกอนต้นได้หรือไม่ ว่าบริษัทตั้งเป็นรายจ่ายยังไม่ได้ส่งออก ศาลบอกว่าไม่ได้ ธุรกรรมอันนี้ พยายามจะแยก การจ่ายเงินได้ อนุหนึ่งไม่พูดเป็นเงินเดือน แต่การสรุปการจ่ายให้บริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจในไทย จ่ายอนุมาตราสอง โดยทั่วไปต้องหัก ณ ที่จ่ายสิบห้าเปอร์เซ็นต์ ต้องไปดูว่าเข้า สอง หก เจ็ด แปด ความยากคือ หกเป็นค่าวิชาชีพเช่นจ้างเขียนออกแบบวิศวะกรรม แต่ถ้ามีภาษีซ้อน เป็นธุรกิจหรือไม่ ค่าจ้างในการออกแบบวิชาชีพวิศวะกรรมขึ้นอยู่กับว่าการที่ออกแบบเป็นอย่างไร ถ้าเป็นลิขสิทธิของผู้ออกแบบก็กลายเป็นค่าสิทธิทัรที ความยากคือควรจะแยกถึงความแตกต่างได้ อนุสัญญาภาษีซ้อนก็ไม่ต้องหัก ค่าเช่าโดยปกติไม่หัก ค่าเช่าบางประเทศ ก็ดันเป็นค่าสิทธิ เวลาเราพูดถึงบริษัทต่างประเทศในแผนภูมิถ้า ที่เล่าให้ฟังตอนต้นว่าไม่อาจจะแยก เวลาศึกษาภาษีระหว่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่ต้องศึกษาไปพร้อมกันคืออนุสัญญาภาษีซ้อนซึ่งไหนๆก็เรียนแล้วก็เอาสักหน่อย ว่า ภาษีซ้อนคงไม่ออกสอบ อาจจะนะครับถ้าออก ก็เป็นข้อสอบที่ยาก ภาษีซ้อนไทยได้ลงนามแล้วห้าสบสามประเทศ ภาษีที่ได้รับคุ้มครองส่วนใหญ่เป็นเงิได้ มูลค่าเพิ่มไม่ได้รับการยกเว้นนะครับ
จะได้ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อนกัน เพราะเงินก้อนเดียวกันไม่ควรเสียภาษีสองอัน เป็นหลักการเงินได้ภาษีซ้อนก็มีสิบหกประเภท กำไรจากธุรกิจ นักกีฬา จะมีว่าจะเก็บกันอย่างไร วิธีขจัดภาษีซ้อนจัดกันอย่างไร ก็ต้องดูในเครดิตร แลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เมื่อสักครู่พูดไปแล้ว คือเรื่องสถานประกอบการถาวร กับการประกันชีวิต การที่ดูว่าบริษัทต่างประเทศนั้นก่อให้เกิดเงินได้ในไทย ก็มีความหมายในทำนองเดียวกันว่า โดยปกติทำธุรกิจในไทยแล้วก็จะไม่เก็บภาษีคุณเลย เช่น เป็นตัวแทนต่างประเทศเซ็นต์สัญญาไม่ถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวร
ถ้ามอบให้คนไทยไปเซ็นต์สัญญา มันจะกว้างการจะดูว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ ต้องดูว่าเป็นสถานประกอบการหรือไม่
หรือลักษณะกิจกรรม มีการนำแท่นขุดเจาะมาตั้งเกินกำหนดเข่นเงินจ้างออกแบบสร้างโรงงานกลั่นน้ำมัน ถ้าทำอยู่เมืองนอกก็สี่สิบอนุหก สร้างโรงงานกลั่นน้ำมันต้องใช้วิศวะ ถ้าสัญญาบอกอนุหก หัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าเป็นกำไรจากธุรกิจ ก็ไม่ต้องหัก สิ แต่ก็ไม่แน่ถ้าเขียนว่ากำไรเป็นของผู้จ้างแล้วเอาความรู้มาใช้ก็เป็นค่าสิทธิเป็นค่าจ้างแต่ตอนเขียนออกแบบดันส่งมาปีกว่า
เกินหกเดือนก็กลายเป็นว่าไม่ได้เขียนงานที่เมืองนอกเป็นการกระทำในไทยตั้งหลายปี ก็ต้องเสียภาษี งานนั้นจริงๆไม่ต้องเสีย แต่เกิดส่งมาเกินกำหนด กมีตัวแทนอิสระ ยี่ปุ่นมีภาษีซ้อนกับไทยนะครับ รับเสียภาษีเต็มๆ แต่อาจไม่เสียเจ็ดสิบทวิ ถ้าออกสอบจะเอาสองเคสมารวมกันถามว่ามี ภาษีซ้อนหรือไม่ แต่ยากเกิน ถึงแม้ว่าเข้ามาประกอบการถาวร ก็ไม่ต้องเสียภาษีในไทย แต่ถ้ามี ก็เสียภาษีอันนั้นเช่นเดียวกับสาขาไม่ได้เอาเงินได้ทั่วโลกมาเสียภาษีในแง่ของความเชื่อมโยงภาษีอากร ก็มีการเชื่อมโยงลูกจ้างผู้ทำการแทน ดังนั้นเราต้องผ่านการทดสอบว่าถ้า บริษัทต่างประเทศมาทำธุรกิตจในไทย ตั้งึคำถามว่า บริษัทนั้นมีภาษีซ้อนหรือไม่
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคู่ค้าสิ่งแรกต้องดูว่ามีภาษีซ้อนหรือไม่ แล้วดูว่าก่อให้เกิด ภาษีไทยเงินได้ที่เกิดชีวิตจริงจะเลี่ยงไม่ให้เกิดในไทย
แล้วแต่ประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อน ก็ต้องมีความเข้าใจเรื่องนี้พอสมควร หรือออกแบบลักษณะการทำธุรกรรมให้ไม่ต้องเสียในไทย ออกแบบสัญญาไม่ให้เป็นเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งก็เข้ามาสู่เรื่องการวางแผน ภาษีอากรนั่นเอง เราสามารถออกแบบให้เรารับค่านายหน้าจากหลายๆฝ่ายได้อันนี้ก็เป็นข้อคิด คนที่จะทำงานภาษีให้ครบวงจรต้องรู้ภาษีต่างประเทศด้วยนะครับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็ต้องรู้ภาษีซ้อน นี่คือความเกี่ยวโยงอีกครั้งคือ มาตรา 70 มีเงินได้ห้าเงินได้
เราจะเห็นยกตัวอย่างเช่นคุณจะเห็นเลยว่าการแบ่งเงินได้ค่าสิทธิมีการยากพอสมควรเพราะหากเป็นค่าสิทธิแล้วต้องหัก ณ ที่จ่าย ถ้าเป็นกำไรจากธุรกิจไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายเลย ค่าบริการจากสิ่งที่ให้บริการอยู่แล้วเป็นค่าสิทธิ ค่าเช่าเรือ
ทำไมเป็นค่าสิทธิ ทั้งๆที่ภาษาชาวบ้านก็อาจจะเป็นค่าจ้างก็ได้ ก็ไปดูภาษีซ้อน เราพูดถึงหกสิบห้าทวิอนุสี่ การกำหนดราคาโอนเป็นเรื่องเอากำไร หกสิบห้าตรีอนุสิบสาม การกำหนดราคาโอนเป็นการเอากำไร โดยกำหนดให้กำไร ไปอยู่ในประเทศที่เสียภาษีต่ำเช่นเอ ผลิตในไทย ขายลูกค้าโดยตรง ยี่สิบล้าน ทั่วๆไป แต่ถ้าเอ อยากวางแผนภาษี เอก็ไปตั้งบริษัทในประเทศที่เสียต่ำกว่า หรือ ไม่เสียเลย แทนที่เอ จะขายยี่สิบล้านไม่ขายแล้ว ขายสิบสองล้านก็พอ เสียภาษีแค่หกแสนเอง บีเสียอีกแปด เพราะฉะนั้นภาษีทั้งหมดของการขายสินค้านี้ ภาษีก็คือหนึ่งจุดสี่ล้าน แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็จะเสียสามล้าน
สรรพากรเห็นดังนั้นจึงไม่ได้แล้ว ถ้าจะทำแบบนี้ได้ ก็จะกำหนดว่า คุณเคยขายยี่สิบล้านจะมาขายสิบสองล้านได้อย่างไรสรรพกากรเลยเอามาสองเรื่องคือเรื่องรายจ่าย จะรับมากทำให้น้อยก็ประเมินได้ หรือจ่ายมากเกินไปก็ห้ามได้ เพราะฉะนั้นคำสั่งที่ต้องศึกษา ก็คือ ป 113 คือการเสียภาษีที่ต้องปรึกษาสรรพากรไปก่อน รัฐก็มีกลไกที่ไปตรวจภาษีตรงนี้ได้
มีฏีกาเรื่องการแบ่งแยกเงินได้พึงประเมินดูให้ดีนะ เป็นเรื่องการขายระบบโทรศัพท์ อุปกรณ์การขายสินค้า สี่สิบอนุแปด ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ติดตั้งคืออนุมาตราสอง ถ้าสัญญานี้มีมูลค่าสี่สิบล้านบาท เงินทั้งจำนวนก็ต้องเสียภาษีในไทย เพราะขายของแล้วติดตั้งด้วย เบลเทเลโฟนก็บอกว่าทำสัญญาดีกว่า ทำสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ รวมทั้งสิ้นสี่สิบล้าน สรรพากรบอกไม่ได้ สัญญาต้องสี่สิบล้านก็มีการประเมินสู้ ก็สัญญาแยกแล้วนี่ว่าซื้อขายเท่านี้ติดตั้งเท่านี้แล้วจริงๆก็เป็นเช่นนั้น คดีนี้มีภาษีซ้อนด้วย ก็บอกติดตั้งไม่เถียงเลยเพราะทำงานติดตั้งเกินหกเดือนก็ขอเสียภาษีแปดล้าน ส่วนซื้อขายไม่มีอะไรเลย ก็ไม่ได้มีการชี้นำไม่มีภาษีซ้อนด้วย ถ้ามีพีอีก็เสียเงินได้จากที่ไม่เกินพีอี พอถึงศาลฏีกาอ้างหลักความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องการแสดงเจตนา เพราะฉะนั้นเสียภาษีไม่เกินแปดล้าน อาจารย์ไม่เห็นด้วยเพราะถ้าทำได้ต่อไปก็มีคนแยกสัญญาสิ ก็ของนี่มันแยกกันออกไม่อย่างนั้นต่อไปเก็บภาษีรัฐก็ต้องออกอยู่ดี
เพราะฉะนั้นเดียวนี้เวลาทำไม่ได้ทำบริษัทเดียวกันอย่างนี้ก็คือ ไม่อำพรางหรอกชัดเลยอย่างนี้ การที่แยกสัญญาเช่นนี้ไม่ได้ต้องการแยกภาษีหรอกถ้าข้อสอบออกมาอย่างนี้ก็ต้องตอบหลายความเห็นหน่อย อันนี้ยิ่งหนักใหญ่ คนตัดสินคือท่านอาจารย์ไชยสิทธิ์ เงินได้ต้องหัก ณ ที่จ่าย บริษัทนี้จ่ายค่าสิทธิ คือ เป็นพิซซ่าฮัท ขายได้เท่าไหร่ ยอดขายก็ขายไปร้อยก็เสียสี่บาท แต่สัญญาแฟรนไชย์ต้องเสียค่าส่งเสริมการขายด้วย เป็นลักษณะทั่วไปของสัญญาแฟรนไชย์
บริษัทเจ้าของก็กำหนดว่าต้องรักษาชื่อก็มักมีข้อกำหนดให้ ต้องจ่ายเงินส่งเสริมการขายเสียก่อน ปรากฎว่าเรื่องนี้ศาลบอกการที่ไปจ่ายเงิน ให้บริษัท โฆษณา ถือว่าจ่ายเงินให้กับบริษัทเมืองนอกแล้ว ก็เป็นเงินได้ค่าสิทธิต้องหักสิบห้าเปอร์เซ็นต์เพราะการควบคุมอยู่ภายใต้เมืองนอก ศาลมองว่าเป็นก้อนเดียวกันเพียงแต่แบ่งจ่ายเท่านั้นแหละ ก็เป็นประโยชน์ของบริษัทเมืองนอกทำให้ไม่ต้องโฆษณาด้วยตนเอง ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ฏีกาเรื่องนี้ก็ต้องเข้าใจทำไว้หน่อย เห็นด้วยหรือไม่ ก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่บอก 56 บริษัท บลาซิล มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย ซ่อมเครื่องจักรให้เอ อยู่เมืองบลาซิล สัญญาทำในไทย การจ่ายค่าจ้างต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ ก่อนมาคำตอบ
ต้องดูว่า กรณีนี้เป็นเงินได้ตามมาตราใด โจทก์มัดประเด็นว่าไม่มีภาษีซ้อน จากลำดับว่าเงินได้ประเภทใด ซ่อม ถ้าจ่ายค่าออกแบบนี่ยุ่งเลย เพราะฉะนั้นวิธีดูต่อไปแล้วภาษีมูลค่าเพิ่มต้องหักหรือไม่
มีมาตรา 77/2 เราเปิดดูสิ 78/1 ก็มีเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ธงคำตอบบอกสัญญาจ้างทำของทำในต่างประเทศทั้งสิ้นเวลาอ่านค่อยๆอ่านนะครับ
การที่ดูคำตอบหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ เกี่ยวกับธุรกิจเฉพาะ เรื่องที่ออกอีกเรื่องก็คือเรื่องซื้อขายที่ดินเรารู้กันอยู่หักค่าเสื่อมอย่างไร ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าเราเห็นตัวอย่างคำอธิบายที่ในหนังสือเล่มนี้ลองดู ไม่ได้ออกนอกเหนือคำอธิบาย ก็ต้องเอาเรื่องที่พูดไปรับฟัง แต่คุณต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วโยงถึงกฎหมายมากกว่าหนึ่งฉบับเก็งไว้ได้เลย ถ้าเราลองทบทวนกลับไปดู ไม่ได้คิดว่า ข้อสอบของภาษี นิติบุคคล มันจะค่อนข้างยาก ภาษีซ้อน โอกาสออกน้อย ก็ต้องดู แต่ขอเรียนไว้ก่อนว่า ถ้าเราอยากสนใจเรื่องภาษีอากร เราจะไม่สามารถเพิกเฉยหรือให้การได้ ให้ลองมาคิดสิว่า ภาษีอากรเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องใกล้ตัวทั้งหมด ถ้าศึกษากฎหมายนี้เข้าใจหลัก ถือว่าเป็นคะแนนช่วยเลยนะครับภาษีอากร
ข้อสอบไม่ได้ยากเลยไม่ได้ออกลึกเลย เราก็ไปต่อยอดศึกษากฎหมายภาษีอากร เอาภาษีบุคคลธรรมดานิติบุคคลให้เก่งเลยไปแนะนำบริษัทเสียภาษีที่ถูกต้องไม่ต้องกลัวสรรพากรมาตรวจ แต่ว่า ถ้าเรารู้กฎหมายภาษีอากรไม่ว่าใครก็มาเอาเปรียบเราไม่ได้ก็อยากให้พวกเรามาแนะนำ
สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ได้รับความเห็นโดยตลอดจากผู้ประกอบการคือ นักกฎหมายแย่จริงๆให้ถูกตามกฎหมายเสียก่อน ถ้าเราบอกว่าปรึกษาแล้วให้หลบแล้วอย่างนี้ก็ผิดตั้งแต่จริยธรรมแล้ว เราต้องดูเสียให้เป็นอย่าเสียในส่วนที่ไม่ควรต้องเสีย เราต้องเสียภาษีให้ครบ แต่ต้องรู้จักวางแผนให้ถูกกฎหมาย อาจารย์อยากให้เราไปชี้นำชาวบ้านให้ถูกต้อง ก็หวังว่ากฎหมายภาษีอากรมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตในวิชาชีพมาก ยิ่งคนจบบัญชีมาด้วยสุดยอด การให้ความรู้ติดตาม การศึกษาภาษี อยากให้หลักสูตรเป็นจุดเริ่มที่จะได้ไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม สำคัญมากถ้าประเทศไทยไม่มีภาษีเมื่อไหร่ก็เรียบร้อย อาจารย์เชื่อว่า จะมีพวกเรามาบอกว่าฟังแล้วนำไปเปลี่ยนอาชีพทำมาหากินสุจริต ทำงานภาษีทำแล้วเห็นเลยทันที ก็ฝากพวกเราไว้ ก็หวังว่าการสอบอาจารย์ถ้าไม่มาเองก็จะฝากข้อสอบมา คะแนนภาษีน่าจะเป็นคะแนนช่วยนะครับ เพราะฉะนั้นก็จบการบรรยายเพียงเท่านี้ก็ขอให้ท่านโชคดี ได้เป็นเนติบัณฑิตทุกคน และมีพลังในการช่วยสร้างชาติเพราะเราเป็นผู้นำในวิชาชีพกฎหมาย ขอบคุณครับ
……………………จบการบรรยายภาษี ภาคค่ำ ชั่วโมงที่ ครั้งที่ 7 – 8 ค่ะ