« เมื่อ: เมษายน 11, 2010, 04:16:16 »
ข้อ 2. จำเลยออกเช็คที่จังหวัดร้อยเอ็ด จำเลยจ่ายเช็คธนาคาร ท. สาขาขอนแก่นมอบให้โจทย์
โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีโจทก์ที่ธนาคาร ท. สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานครเพื่อเรียกเก็บเงิน
ธนาคาร ท. สาขาขอนแก่นปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงร้องทุกข์โดยชอบกับพนักงานสอบสวน
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด พนักงานสอบสวนดังกล่าวได้ทำการสอบสวนเมื่อทำการสอบสวน
เสร็จแล้วก็ทำสรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้อง ส่งเรื่องให้อัพการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องต่อศาลจังหวัดร้อยเอ็ด
ก. จำเลยโต้แย้งว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ดไม่มีอำนาจในการสอบสวนเพราะสถานที่ออกเช็คไม่ใช่สถานที่ซึ่งความผิดเกิด ข้ออ้างของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด
ข. จำเลยอ้างว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเพราะไม่ใช่ศาลแห่งท้องที่ ที่ความผิดเกิด ข้ออ้างของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
สถานที่ออกเช็คเป็นสถานที่ที่มีความผิดเกิดขึ้นหรือไม่
ก. การที่จำเลยออกเช็คเพื่อจ่ายเช็คธนาคาร ท. สาขาขอนแก่น สถานที่ออกเช็คที่จังหวัดร้อยเอ็ดถือเป็นสถานที่ความผิดเกิดขึ้นแล้วเพราะจำเลยทราบและเจตนาในการกระทำความผิด การกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ดต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น พนักงานสอบสวนจังหวัดร้อยเอ็ดจึงมีอำนาจสอบสวน ตาม ป.วิอ ม.19(3)
อัยการมีอำนาจฟ้องศาลที่จังหวัดร้อยเอ็ดหรือไม่
ข. การที่โจทย์ได้แจ้งความกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นถือได้ว่าเป็นการพบการกระทำความผิดแล้ว แม้ว่าโจทย์ไม่ได้ขึ้นเงินที่ร้อยเอ็ด แต่มูลคดีดังกล่าวในเรื่องเช็ค ถือว่าสถานที่ออกเช็คเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นอัยการจึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลร้อยเอ็ด ม.120 ประกอบ ม.19(3)
ไม่ทราบว่าผมทำถูกหรือดเปล่าอาศัยอ่านจากหลายๆเวบแล้วลองทำดูโดยอิง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1702/2523
จำเลยออกเช็คของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่เขตพญาไท กรุงเทพ ให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์ร่วมนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางนา เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำเนินคดีกับจำเลย โดยอ้างว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้ แม้ความผิดมิได้เกิดขึ้นในท้องที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพราะธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินมิได้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนั้นก็ตาม แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็อ้างว่าจำเลยกระทำผิดในเขตอำเภอพระประแดง โดยออกเช็คในท้องที่นั้น ถ้าเป็นความจริงก็ถือได้ว่า การกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่อำเภอพระประแดงต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงย่อมมีอำนาจสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (3) พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ มีอำนาจฟ้อง และศาลจังหวัดสมุทรปราการ ย่อมมีอำนาจชำระคดีตามมาตรา 22 เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้ วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4-8/2523)
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links